|
Post Number: 1
|
pakae 
เก่าสุดๆ

      
กลุ่ม: สมาชิกประจำ
จำนวนโพสต์: 1105
เข้าร่วมเมื่อ: 14 Jun. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 17 Oct. 2005,22:10 |
|
 |
สวัสดีค่ะ 
ได้รับแผ่นพับเรื่องตำนานแห่งการดื่มชา มาเห็นแล้วน่าสนใจ ก็เลยนำมาบอกต่อ เพราะในเวปเรานี้มีทั้งคนชอบดื่มชา และอยู่เมืองผู้ดี ที่มีธรรมเนียการดื่มชายามบ่าย ตอน "ตำนานแห่งการดื่มชา"
เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดของการดื่มชามีความหลากหลายพอๆ กับประเภทของชาต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี และยังคงมีความแตกต่างกันออกไปใน แต่ละส่วนต่างๆ ของโลกด้วย
ตำนานอินเดีย และญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงพระโพธิธรรม ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้เคร่งครัดการปฎิบัติธรรมรูปหนึ่ง พระโพธิธรรมได้นั่งสมาธิเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันโดยปราศจากการพักผ่อนนอนหลับใดๆ จนกระทั่งรู้สึกง่วงงุนขึ้นในที่สุด
จากตำนานอินเดีย พระโพธิธรรมเด็ดใบไม้สองสามใบจากต้นไม้ที่ใช้เป็นร่มเงา และเมื่อลองเคี้ยวใบไม้เหล่านั้นดูก็พบว่า ความง่วงที่เกาะกุมได้ปลาสนาการไป
เรื่องจากตำนานญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเล่าว่า พระโพธิธรรมได้เฉือนเปลือกตาอันหนักหน่วงของตนทิ้งด้วยโทสะ และขว้างลงไปที่พื้นดิน ในบริเวณที่เปลือกตาถูกทิ้ง ได้เกิดเป็นพุ่มชาสองพุ่ม และพระโพธิธรรมก็ได้ค้นพบว่า "ใบชามีคุณสมบัติในการช่วยระงับความง่วง"
ตำนานที่แพร่หลาย และเชื่อกันมากที่สุดได้แก่ตำนานจีน เมื่อราว 2737 ปีก่อนคริสตกาล ขณะจักรพรรดิเฉินหนง กำลังต้มน้ำอยู่ใต้ต้นชา ได้มีใบชาหล่นลงไปในกาต้มน้ำ จอมราชันย์พบว่าน้ำที่ต้มกลายเป็นเครื่องดื่มชนิดใหม่ ซึ่งมีรสชาติดีกว่าน้ำต้มธรรมดาอย่างเทียบไม่ได้
" ชาสำหรับทุกความชอบ"
ชาทุกประเภทล้วนมีที่มาจากต้นชา หรือ Camellia sinensis เหมือนกัน เมื่อราว 5000 ปีก่อน ชาวจีนได้ค้นพบว่า ต้นชาสามารถให้ใบชาที่มีกลิ่น และบุคลิกที่หลากหลาย โดยการปลูกบนสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความสูงแตกต่างกันเฉกเช่น การปลูกองุ่น เพื่อทำไวน์ และหากจะว่า กันตามจริงแล้ว ชาประเภทต่างๆ ก็มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับไวน์ชั้นเลิศอยู่เสมอ
เทคนิคการผลิตที่แตกต่างกันช่วยให้สามารถผลิตชาประเภทต่างๆ ขึ้นมาได้ หลักๆ คือชาเขียว และชาดำ โดยชาเขียวได้มาจากการไม่ปล่อยใบชาผ่านกระบวนการทำ ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เช่นเดียวกับไวน์ขาว ในขณะที่การผลิตชาดำนั้นจะต้องนำใบชาผ่านกระบวนการนี้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับไวน์แดง และชาเหล่านี้เอง คือสิ่งที่ โธมัส ทไวนิ่งส์ เริ่มขายในปีค.ศ. 1706
ในปัจจุบัน ชาเขียวส่วนใหญ่มาจากตะวันออกของประเทศจีน ชาดำ ซึ่งในอดีตเคยผลิตได้เฉพาะประเทศจีนก็ได้แพร่กระจายมาถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1839และเข้าสู่ซีลอน หรือศรีลังกาในปี ค.ศ. 1879 วันนี้ชาเป็นพืชที่ปลูกกันแพร่หลายในทุกส่วนของโลกที่สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
ชาจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศเขตร้อนหรือเขตใต้โซนร้อนที่มีฝนประมาณหนึ่งร้อยลูกบาศก์เซนติเมตรต่อปี ต้นชาเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ หากปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติจะมีความสูงถึงประมาณ 9 เมตร แต่ เพื่อความสะดวกในการเก็บใบชา ต้นชามักถูกเล็มให้มีความสูงแค่ระดับเอว
ต้นชา พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวเมื่ออายูได้ สามถึงห้าปี ขึ้นอยู่กับความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ที่ปลูก ช่อที่อยู่สูงที่สุดของต้นรวมทั้งใบอ่อนในบริเวณใกล้เคียงก็จะถูกเด็ด หลังจากนั้นก็จะนำใบชาที่ได้รับจากการเก็บ มาผ่านกระบวนการผลิตให้เป็นชาเขียวหรือชาดำตามต้องการ
ตอนต่อนไปจะเป็นเรื่อง ชนิดของชา ลักษณะเฉพาะตัว ถิ่นกำเนิด รสชาติ และโอกาสในการดื่ม วิธีชง และดื่ม ชากับสุขภาพ ชนิดของชา ชากับสุขภาพ และ 10 เคล็ดลับสู่ชารสเลิศ
เอ้าดื่มชากันหน่อย ชนแก้วกันจ๊ะ
ข้อมูลจาก www.twinings.com
|
 |
|
|
Post Number: 2
|
มะเหมี่ยว 
ชาวบ้านธรรมดา

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 1939
เข้าร่วมเมื่อ: 13 Mar. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 18 Oct. 2005,10:30 |
|
 |
ขอบพระคุณน้าป้าแก่นะคะ มะเหมี่ยวสนใจมากเลยค่ะ โดยเฉพาะวิธีชงชาค่ะ หนูเคยได้ยินมานานมากแล้วนะคะ จำได้แค่พอลางๆ ว่า ถ้าเราชงชากี่นาทีจะเกิดประโยชน์ และกี่นาทีจะเกิดสารพิษ ใบชาที่ถูกน้ำร้อนนานต่างกันก็จะให้สารต่างกัน ยิ่งแช่ไว้นานยิ่งไม่ดี ประมาณนี้ค่ะ
พี่พิลกริมอยู่ที่อังกฤษ ดื่มชาเป็นประจำไหมคะ
-------------- <MARQUEE onmouseout="this.start( )" onmouseover="this.stop( )"scrollamount="2"scrolldelay="0"loop="0"direction="left">[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]...แต่ไหนแต่ไรมา....เวรไม่เคยระงับด้วยการจองเวร...[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]</MARQUEE>
|
 |
|
|
Post Number: 3
|
pilgrim 
เก่าสุดๆ

      
กลุ่ม: สมาชิกประจำ
จำนวนโพสต์: 2230
เข้าร่วมเมื่อ: 16 Jun. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 18 Oct. 2005,17:49 |
|
 |
ตอนนี้พี่พิลเลิกดื่ม กาแฟและ ชาจากใบชาแล้วค่ะ น้องมะเหมี่ยว ทั้งๆที่ชอบมากทั้งชา กาแฟ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ เลยต้องเลิก อาศัยแต่สูดดมความหอมตอนคนอื่นชง จะว่าไปแล้ว พี่ชอบชา มากกว่า กาแฟค่ะ ชอบมาแต่เด็กๆแล้ว คือ สมัยก่อนเวลาไปร้านกาแฟแบบที่เขาใช้หม้อต้มแบบโบราณคล้ายๆหม้อก๋วยเตี๋ยว แล้วก็มีถุงกาแฟ (ไม่รู้น้องมะเหมี่ยวเคยเห็นหรือเปล่าแฮะ) พี่จะชอบชาดำเย็นมากกว่าโอเลี้ยงน่ะค่ะ
แต่อย่างว่า ของชอบจะให้เลิกเด็ดขาดเลยก็ไม่ได้ พี่พิลยังดื่มชาที่ไม่ใช่มาจากใบชาอยู่ค่ะ เช่นชามินต์สะระแหน่ ชาคาโมมายล์ (ชาดอกไม้) และชาเก๊กฮวย ชาจับเลี้ยง (มีขายที่นี่ด้วยค่ะ เป็นก้อนสำเร็จรูป เรามาใส่น้ำร้อนเอาเอง) ชาน้ำขิง แต่ก่อนชอบชาใบหม่อนมาก แต่ที่นี่ไม่มีขายค่ะ อ้อ กลับเมืองไทยเที่ยวก่อน พี่พิลซื้อชาแปะก้วย ของ OTOP มาด้วยค่ะ เขาทำออกมาได้ดีทีเดียว เพื่อนเกาหลีเคยเอาชาโสมมาให้ด้วยค่ะ แต่หาซื้อไม่ค่อยได้ ท่าทางจะแพงเหมือนกัน
นอกจากนั้น ยังมีชาใบไม้และชาผลไม้อีกหลายอย่างค่ะ ออกรสเปรี้ยวๆก็มี เพราะเขาผสมลูกผลไม้เข้าไป เช่น blackcurrant, raspberry, apple ทำนองนี้ค่ะ หอมมากๆเหมือนกัน
ยังไง ลองมาฟังป้าแก่ขยายความเรื่องชากันต่อนะคะ
--------------

All days come from one day.
|
 |
|
|
Post Number: 4
|
add 
ฅนเก็บกวาดใบไม้

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 4831
เข้าร่วมเมื่อ: 27 Jun. 2002
อัตรานิยม: 4
|
 |
โพสต์เมื่อ: 18 Oct. 2005,19:12 |
|
 |
ชาดำเย็นตามร้านโกปี๊ รู้สึกว่าฝาด และใส่สีด้วยหรือเปล่า ทำไมสีจัดจัง ที่จริงชอบกินชาเย็นแบบไทยๆแต่หาร้านที่ชงอร่อยๆไม่ค่อยมี
ส่วนชาเขียว ชาใบๆอะไรๆๆก็มีจิบๆวันละนิดวันละหน่อยค่ะ ถ้าชาไหนเข้มๆก็ชงใส่นมสดก็อร่อยดีจ้ะ
|
 |
|
|
Post Number: 5
|
pakae 
เก่าสุดๆ

      
กลุ่ม: สมาชิกประจำ
จำนวนโพสต์: 1105
เข้าร่วมเมื่อ: 14 Jun. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 18 Oct. 2005,22:12 |
|
 |
มานำเสนอชนิดของชาต่อค่ะ
ตอน : ชนิดของชา  ชาดำ 4 ขั้นตอนสำหรับการผลิตชาดำ
1) พักใบชาให้สลด เพื่อกำจัดความชื้นส่วนเกิน ใบชาจะถูกทิ้งไว้ข้ามคืน โดยใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่าลมผ่าน
2)รีดใบชา เป็นขั้นตอนที่ใช้แรงงานหนักที่สุด และทำด้วยมือในอดีต จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในปี ค.ศ. 1830 จึงหันมาใช้เครื่องจักรแทน ในขั้นตอนนี้ใบชาจะถูกรีดคลึง เพื่อให้โครงสร้างที่เป็นโพรงเล็กๆ ใน แต่ละใบชาฉีกขาด และปล่อยเอนไซค์ ซึ่งเป็นกลิ่นรสของชาออกมา
3)การปล่อยให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ หลังจากรีดแล้ว ใบชาจะถูกนำมาวางแผ่ในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 26 องศาเซลเซียสเพื่อปล่อยให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ขั้นตอนนี้จะช่วยพัฒนารสชาติ และทำให้ใบชาเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเจือทองแดง
4)อบแห้ง เมื่อผู้ผลิตชาเห็นว่า ใบชาได้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเพียงพอแล้ว ซึ่งมักกินเวลาประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง ใบชาจะถูกนำไปทำให้แห้ง เพื่อหยุดการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน โดยจะนำไปผ่านห้องรมความร้อนอย่างช้าๆ ซึ่งจะทำให้ใบชาแห้ง และเปลี่ยนเป็นสีดำ กรรมวิธีนี้ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการใช้เกิดความร้อนมากหรือน้อยเกินไปจะมีผล โดยตรงต่อคุณภาพของชา
... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... ... .
ชาเขียว ในกระบวนการผลิตชาเขียวนั้น ใบชาจะถูกนำไปพักให้สลด แล้วจะถูกนำไปผ่านขั้นตอนการอบไอน้ำ เพื่อทำลายเอนไซม์ และป้องกันไม่ให้เกิดการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนของใบชา ทำให้ใบชายังคงรักษาสีเขียวไว้ได้ หลังจากนั้นก็นำมาผ่านขั้นตอน การรีด และอบแห้งเช่นเดียวกับชาดำ และผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการทั้งหมด คือ ใบชาที่ให้น้ำชาเบา ใสมีรสชาติละเมียด และสดชื่นอย่างแท้จริง
ศิลปะของผู้ปรุงชา หลังจากผ่านกรรมวิธีต่างๆ แล้ว ใบชาจะถูกนำมาคัดตามขนาดของใบ และบรรจุลงในหีบชาแบบดั้งเดิมหรือกระสอบกระดาษที่แบ่งเป็นหลายชั้น แล้วส่งไปขายด้วยการประมูล โดยนายหน้าค้าใบชาจะส่งตัวอย่างใบชาจำนวนเล็กน้อยมาที่ทไวนิงส์ จานนั้นผู้เชี่ยวชาญในการรับซื้อใบชาและผู้ปรุงชาของ ทไวนิงส์ จะทดสอบคุณภาพ รสชาติ และสีสันของใบชาตัวอย่าง ความเชี่ยวชาญที่สืบทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ช่วยให้เลือกใบชาที่ดีที่สุด เพื่อนำมาผสมเป็นชากลิ่นต่างๆ มากมาย ของทไวนิงส์
เป็นไงบ้างค่ะ ดื่มชากันบ้างหรือเปล่า ถ้ายังไงก็ทดลองดูแล้วกันนะว่า รสชาติอย่างที่บอกไว้หรือเปล่า ถ้ามีอะไรเพิ่มเติม ขอเชิญผู้รู้ทุกท่านบอกข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะค่ะ เพราะที่เล่าๆ มา ก็อ่านมาอีกทีเหมือนกัน ต้องให้คอชา และแฟนชา เป็นผู้บอกจะดีที่สุดเด้อจ้า
ถ้าจะกินโอเลี้ยง ชาดำเย็น ชาเย็นให้อร่อยอย่างที่พี่แอ๊ดชอบ ต้องไปกินที่เขาชงเป็นถุงๆแบบโบราณ ถึงจะอร่อยแบบคนเก่าๆอย่างเราๆนะพี่แอ๊ด
|
 |
|
|
Post Number: 6
|
มะเหมี่ยว 
ชาวบ้านธรรมดา

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 1939
เข้าร่วมเมื่อ: 13 Mar. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 19 Oct. 2005,04:33 |
|
 |
น้าป้าแก่คะได้รู้ความรู้มากๆ เลยค่ะ ขอบพระคุณน้าป้าแก่นะคะ
อ้างถึง (pilgrim @ 18 ตค. 2005,05:49 ) | สมัยก่อนเวลาไปร้านกาแฟแบบที่เขาใช้หม้อต้มแบบโบราณคล้ายๆหม้อก๋วยเตี๋ยว แล้วก็มีถุงกาแฟ (ไม่รู้น้องมะเหมี่ยวเคยเห็นหรือเปล่าแฮะ) พี่จะชอบชาดำเย็นมากกว่าโอเลี้ยงน่ะค่ะ |
หนูทันได้เห็นและได้ดื่มค่ะพี่พิลกริม หนูแอบจิบของพ่อเรื่อยเลยค่ะ โอเลี้ยงของร้านกาแฟโบราณขมจังนะคะ แต่หอมกลมกล่อมและหวานปลายๆ
หม่ามี้คะ ชาที่ใส่นมเขาจะเรียกว่า "ชาเย็น" แล้วชาที่ไม่ใส่นมเขาจะเรียกว่า "ชาดำเย็น" หนุเข้าใจถูกต้องใช่ไหมคะ
( มะเหมี่ยวดื่มชา พี่แมวเหมียวปลูกต้นชาดัด )
-------------- <MARQUEE onmouseout="this.start( )" onmouseover="this.stop( )"scrollamount="2"scrolldelay="0"loop="0"direction="left">[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]...แต่ไหนแต่ไรมา....เวรไม่เคยระงับด้วยการจองเวร...[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]</MARQUEE>
|
 |
|
|
Post Number: 7
|
แมวเหมียว 
แม่ครัวโจ๊กน้ำใส

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 3991
เข้าร่วมเมื่อ: 23 Oct. 2003
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 20 Oct. 2005,00:11 |
|
 |
มาแล้วค่ะ มาชนแก้วด้วยคน
อิ อิ ป้าแก่จ๋า ดื่มชาต้องชนแก้วด้วยเหรอคะ
|
 |
|
|
Post Number: 8
|
pakae 
เก่าสุดๆ

      
กลุ่ม: สมาชิกประจำ
จำนวนโพสต์: 1105
เข้าร่วมเมื่อ: 14 Jun. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 20 Oct. 2005,07:32 |
|
 |
ก็พวกเราไม่ดื่มเหล้า ก็เลยชนแก้วชาแทนไงละจ้ะ แมวเหมียวจ๋า ชนแก้วได้ตลอดไปขับรถก็ไม่ต้องกลัวตำรวจจับด้วยนะ เพราะพวกเรา เมาไม่ขับ อิอิอิ
|
 |
|
|
Post Number: 9
|
คชาไพร 
เก่าสุดๆ

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 1351
เข้าร่วมเมื่อ: 28 Nov. 2003
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 20 Oct. 2005,09:13 |
|
 |
มาชิมชาด้วยคนครับ
|
 |
|
|
Post Number: 10
|
มะเหมี่ยว 
ชาวบ้านธรรมดา

      
กลุ่ม: ฅนทำความสะอาด
จำนวนโพสต์: 1939
เข้าร่วมเมื่อ: 13 Mar. 2005
อัตรานิยม: ไม่มี
|
 |
โพสต์เมื่อ: 20 Oct. 2005,22:34 |
|
 |
ให้ลุงช้างสองแก้วเลยค่ะ
-------------- <MARQUEE onmouseout="this.start( )" onmouseover="this.stop( )"scrollamount="2"scrolldelay="0"loop="0"direction="left">[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]...แต่ไหนแต่ไรมา....เวรไม่เคยระงับด้วยการจองเวร...[img]http://thummada.com/php_upload2/Copy of r7_19.gif[/img]</MARQUEE>
|
 |
|
|
|